หน้าเว็บ

Topology

            โทโปโลยี (topology) คือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน มีรูปแบบต่างๆ ดังนี้
            1.
โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
            2.
โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
            3.
โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
            4.
โทโปโลยีแบบ Hybrid
            5.
โทโปโลยีแบบ MESH 

โทโพโลยีแบบบัส  ( BUS Topology ) 
            1. แบบบัส ( BUS Topology ) เป็น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว
ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ในเครือข่าย 

 
ข้อดีของ  BUS Topology
            1.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
            2.
มีโครงสร้างง่ายและระบบก็มีความน่าเชื่อถือเพราะใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
            3.
ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ

ข้อเสียของ BUS Topology
            1.การตรวจหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก
            2.
ในกรณีที่สายส่งข้อมูลเกิดเสียหายจะทำให้ระบบ ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ 

โทโพโลยีแบบดาว ( Star topology )
            2. แบบดาว ( Star topology ) เป็น การเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง
ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
 
 ข้อดีของ Star topology
                การเชื่อมแบบดาว คือ ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิด ความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น

ข้อเสียของ Star topology
            การเชื่อมแบบดาว คือ ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับ เครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลการขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้

โทโพโลยีแบบวงแหวน  ( Ring Topology ) 
            3.แบบวงแหวน ( Ring Topology ) เป็นการ เชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ
โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป
ข้อดีของ Ring Topology
                การเชื่อมแบบวงแหวน คือ ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง

ข้อเสียของ Ring Topology
                การเชื่อมแบบวงแหวน คือ ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระ ทำได้ยากด้วย

โทโพโลยีแบบต้นไม้  (tree topology)
            4.โทโพโลยีแบบต้นไม้  (tree topology) มี ลักษณะเชื่อมโยงคล้ายกับโครงสร้างแบบดาวแต่จะมีโครงสร้างแบบต้นไม้ โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่งไม่เป็นวงรอโครงสร้างแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่อง คอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น  ดูราวกับแผนภาพองค์กร แต่ละกลุ่มจะมีโหนดแม่ละโหนดลูกในกลุ่มนั้นที่มีการสัมพันธ์กัน การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมดเพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม และรับส่งข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะส่งข้อมูลได้ทีละสถานีโดยไม่ส่งพร้อมกัน
 

ข้อดีของ tree topology
            1. รองรับการขยายเครือข่ายในแต่ละจุด
            2. รองรับอุปกรณ์จากผู้ผลิตที่แตกต่างกัน

ข้อเสีย tree topology
            1.ความยาวของแต่ละเซ็กเมนต์อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายสัญญาณที่ใช้
            2.หากสายสัญญาณแบ๊กโบนเสียหาย เครือข่ายจะไม่สามารถสื่อสารกันได้
            3.การติดตั้งทำได้ยากกว่าโพโลยีแบบอื่น



โทโพโลยีแบบผสม (Hybrid Topology)
                5.โทโพโลยีแบบผสม (Hybrid Topology)  เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
ข้อดีของ Hybrid Topology
            1.
รองรับการทำงานของอุปกรณ์จากผู้ผลิตที่แตกต่าง
            2.
นำส่วนดีของโทโพโลยีต่างๆ มาใช้

ข้อเสียของ Hybrid Topology
            1.มีค่าใช้จ่ายสูง
            2.
เครือข่ายมีความซับซ้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น